Back to All Events

Independent Museums and Archives: Preserving History as an Effort to End Thailand's Culture of Impunity

In-Person Panel Discussion

Independent Museums and Archives:
Preserving History as an Effort to End Thailand's Culture of Impunity


WHEN:

Friday, May 17, 2024
4 p.m. Bangkok Time


WHERE:

The Fort and Live on The Fort’s Facebook Page

Past political violence is a collective memory that must be acknowledged and discussed to build the capacity for change. Without museums and archives that preserve and raise awareness on political violence, there is a risk that society will forget what happened and lose important tools to challenge injustice.
 
A persistent culture of impunity in Thailand undermines the country’s democratization process by failing to ensure accountability and redress for victims and survivors of political violence. However, independent museums and archives endeavor to preserve collective memories, stimulate dialogue, and support democratic principles.
 
Ahead of International Museum Day on May 18, join The Deep South Museum & Archives and The Museum of Popular History at The Fort for an event to discuss the pivotal role that independent museums and archives play and the challenges they face in combating the culture of impunity in Thailand. The event will include an exhibition of collected artifacts and a panel discussion.

This event will be held in Thai language with English interpretation available. It is open to the public and free of charge.
 

Speakers at the event will include: 

  • Pattaraporn Phoothong, Co-founder of the Deep South Museum & Archives and the Oct 6 Museum Project

  • Anon Chawalawan, Founder of The Museum of Popular History

  • Dr. Narupon Duangwises, Researcher of the Thai Rainbow Archive Project

Moderator: 

  • Sippachai Kunnuwong, Communications Specialist at Fortify Rights

Artifacts contributed by the organizers and the Oct 6 Museum Project—a project documenting the massacre of Thai political protesters on October 6, 1976—and the Thai Rainbow Archive—a project to document Thai queer history through the digitalization of gay, lesbian, and transgender publications.


พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุอิสระ: การบันทึกประวัติศาสตร์ ในฐานะความพยายามยุติวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดในไทย


17 พฤษภาคม 2567
16.00 น.
 

สถานที่

The Fort, กรุงเทพฯ
ถ่ายทอดสดทางเพจเฟซบุ๊ก The Fort
 
ความรุนแรงทางการเมืองในอดีต เป็นความทรงจำร่วมที่คนในสังคมควรรับรู้และพูดคุยกัน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง หากไม่มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุที่อนุรักษ์และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรงทางการเมือง มีความเป็นไปได้ว่าสังคมอาจจะหลงลืมสิ่งที่เกิดขึ้น และสูญเสียเครื่องมือสำคัญในการท้าทายความอยุติธรรม
 
วัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิดที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในประเทศไทย บ่อนทำลายกระบวนการประชาธิปไตยของประเทศ โดยนำมาสู่ความล้มเหลวที่จะประกันความรับผิดชอบ และการชดเชยให้กับเหยื่อและผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงทางการเมือง อย่างไรก็ตาม พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุอิสระพยายามที่จะรักษาความทรงจำร่วม กระตุ้นให้เกิดการสนทนา และสนับสนุนหลักการประชาธิปไตยเอาไว้

ก่อนถึงวันพิพิธภัณฑ์สากล ในวันที่ 18 พฤษภาคม ขอเชิญทุกคนเข้าร่วมงานเสวนา ที่จัดโดย The Deep South Museum & Archives และ พิพิธภัณฑ์สามัญชน ที่ The Fort เพื่อพูดคุยกันถึงบทบาทสำคัญของพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุอิสระ และความท้าทายที่โครงการเหล่านี้เผชิญ ในการต่อสู้กับวัฒนธรรมแห่งการลอยนวลพ้นผิดในประเทศไทย

ในงานจะมีการจัดแสดงสิ่งของที่พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุอิสระได้เก็บรวบรวมไว้ และวงเสวนา

กิจกรรมนี้จะจัดขึ้นเป็นภาษาไทยและมีล่ามแปลภาษาอังกฤษ โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ฟรี
 

ผู้เข้าร่วมวงเสวนาประกอบด้วย:

  • ภัทรพร ภู่ทอง, ผู้ร่วมก่อตั้ง The Deep South Museum & Archives และ โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา

  • อานนท์ ชวาลาวัณย์, ผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์สามัญชน

  • ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, หัวหน้าวิจัย โครงการจัดเก็บเอกสารของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศในประเทศไทย (Thai Rainbow Archive Project)

พิธีกร:

  • ศิปปชัย กุลนุวงศ์, Communications Specialist ของ Fortify Rights

การจัดแสดงวัตถุพยานเป็นความร่วมมือระหว่างผู้ร่วมจัดงาน และโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา ซึ่งเป็นโครงการบันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สังหารหมู่ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และโครงการจัดเก็บเอกสารของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศในประเทศไทย (the Thai Rainbow Archive) ซึ่งเป็นโครงการบันทึกประวัติศาสตร์เควียร์ ผ่านการบันทึกแบบดิจิทัลเอกสารเกย์ เลสเบี้ยน และคนข้ามเพศ

Previous
Previous
May 9

The Fort Talk: The Power Of Citizen Journalism In Thailand And Myanmar

Next
Next
May 22

Private Event